วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 13


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.


ไม่มีการเรียน การสอน
เพราะว่าวันนี้มีการสอบในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการพิเศษ


วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 12



วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน
                           ในวันเราเรียนตามปกติเราเรียนทฤษฎีกันเเต่ก็เรียนอย่างสนุกสนานจนไม่อยากให้จบการเรียน การสอนในครั้งนี้เลย เพื่อนหรือแม้กระทั่งบางครั้งเราก็ยังเสียงดังเหมือนกัน อาจารยืมีการยกตัวอย่างในบางกรณีให้เราได้ฟัง เราก็รู้สึกสนุกสนานเป็นยอ่างมาก ตื่นเต้นที่ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆที่อาจารย์ถ่ายทอดให้
 การเรียน การสอน 
                                       - อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์ในเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                                       - ในคาบเรียนได้มีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ความรู้ที่ได้รับ 
                                                            พัฒนาการ  หมายถึง
                            - การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่เเละวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล  
                            - ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  
                                                          เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ     หมายถึง   
                            - เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
                            - เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
                            - พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใด ด้านหนึ่งหลายด้านหรือทุกด้าน
                            - พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้า
                             ปัจจัยที่มีความต่อพัฒนาการเด็ก
                             - ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
                             - ปัจจัยด้านสภาพเเวดล้อมก่อนคลอด
                             - ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
                             - ปัจจัยด้านสภาพเเวดล้อมหลังคลอด
                             สาเหตุ
                             - โรคพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งเเต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่น่นหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติเเต่คำ
                              - โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการเเสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก
                             - การติดเชื้อ  การติดเชื้อตั้งเเต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวเเรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติอาจมีม้ามโต การได้ยินบกพร่อง
                             - ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม ถ้าไม่รีบรักษาก็จะโง่แบบถาวร
                             - ภาวะเเทรกซ้อนระยะเเรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวเเรกเกิดน้อย เเละภาวะขาดออกซิเจน
                             - สารเคมี
                                            ตะกั่ว อยู่ในตัวเชื่อม ของเล่นที่มีการผสมสีด้วยตะกั่ว
                                            1. ตะกั่วเป็นสารที่มีผล กระทบต่อเด็ก เเละมีการศึกษามากที่สุด
                                            2. มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหว ผิวดำหมงคล้ำเป็นจุดๆ
                                            3. ภาวะตับเป็นพิษ
                                            4. ระดับสติปัญญาต่ำ
                                           เเอลกอฮอล์จากเเม่
                                             1. น้ำเเรกเกิดน้อย
                                             2. มีอัตรการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อยศีรษะเล็ก
                                             3. พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง
                                             4. บกพร่องทางพฤติกรรมเเละอารมณ์
                                           โรค Fetal - alcohol
                                           - ช่องตาสั้น
                                           - ร่องริมฝีปากบนเรียบ
                                           - หนังคลุมหัวตามาก
                                           - จมูกแบน
                                           - ปลายจมูกเชิดขึ้น
                                         นิโคติน
                                          - น้ำหนักเเรกเเกิดน้อย ตอนเกิดขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
                                          - เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
                                          - สติปัญญาบกพร่อง
                                          - สมาธิสั้นพฤติกรรมก้าวร้าวมีปัญหาด้านการเข้าสังคม
                                -  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งขาดสารอาหาร (มีผลกระทบเเต่ไม่รุนเเรง) มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน และ ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
องค์ความรู้ใหม่ 

                           เด็กที่มีความบกพร่องไม่ใช่เกิดเเค่ตัวของพ่อ แม่เท่านั้นเเต่สิ่งเเวดล้อมที่อยู่รอบข้าง ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การที่อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่   
การนำไปประยุกต์ใช้
                                                   ทำให้เราสังเกตเด็กที่มีความต้องการว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคที่กล่าวมาหรือไม่จากลักษณะหน้าตาที่เราพอมองเห็นได้ เเต่เด็กบางคนเราก็ไม่สามารถที่จะไปยืนยันได้ว่าเด็กเป็นโรคนั้นโรคนี้จนกว่าเราจะได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก เห็นพฤติกรรมต่างๆที่เขาเเสดงออกมา

                               
                                         
                                            

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 11


วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.




ความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม


ออทิสติก สเปกตรัม 
(Autism Spectrum Disorder)
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
ออทิสติก สเปกตรัม คืออะไร
   เป็นโรคทางจิตเวชเด็ก จัดในกลุ่มความผิดปกติของระบบประสาท ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม ทำให้เกิดความบกพร่องใน      2 ด้านหลัก คือ ด้านสังคม-การสื่อสาร และ ด้านพฤติกรรม-ความสนใจ
   เดิมแบ่งกลุ่มย่อยเป็น ออทิสติก แอสเพอร์เกอร์ พีดีดีเอ็นโอเอส ในปัจจุบันเรียกรวมกันว่า “ออทิสติก สเปกตรัม” (Autism Spectrum Disorder) หรือจะเรียกว่า “ออทิสติก” ก็ถือว่าเป็นที่เข้าใจตรงกัน
   ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด การบำบัดรักษาสามารถช่วยพัฒนาให้เด็กดีขึ้นได้มาก
แต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน และความสามารถในการเรียนรู้ก็แตกต่างกันมาก ตั้งแต่รุนแรงมาก สื่อความหมายไม่ได้เลย จนถึงอัจฉริยะ มีความสามารถโดดเด่นเฉพาะด้าน เรียนจบปริญญา ในปัจจุบันพบประมาณ 6 คนต่อประชากร 1,000 คน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเกือบ 4 เท่า
  อดีตเคยเชื่อว่า เกิดจากการเลี้ยงดูในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ในปัจจุบันยืนยันได้ชัดเจนว่า รูปแบบการเลี้ยงดูไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นออทิสติก
ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการอย่างไร
ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการหลักใน    2 ด้าน คือ ความบกพร่องในด้านสังคมและการสื่อสาร และมีแบบแผนของพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ทำซ้ำๆ และคงรูปแบบเดิม อาการมักแสดงให้เห็นตั้งแต่วัยเด็ก เริ่มสังเกตความผิดปกติได้ชัดเจนในช่วงอายุขวบครึ่ง ในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษา พูดได้ไม่สมวัย มักสังเกตได้เร็วกว่า
ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละคน แสดงออกตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อาการที่พบบ่อย ได้แก่
ด้านสังคมและการสื่อสาร 
* ทักทายอย่างไม่เหมาะสม หรือไม่สนใจทักทาย 
* สนทนาไม่ราบรื่น มักพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ
* ขาดความสนใจร่วมกัน มีอารมณ์ร่วมกับคนรอบข้างน้อย 
* ใช้ภาษาท่าทางไม่สัมพันธ์กับการพูดคุย 
* สบตาและใช้ภาษาท่าทางไม่เหมาะสม
* ไม่เข้าใจหรือใช้ภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารไม่เป็น
*ไม่แสดงออกทางสีหน้าท่าทาง 
* แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับบริบททางสังคม 
* เล่นตามจินตนาการไม่เป็น
* ผูกมิตรไม่เป็น ไม่รู้วิธีการสร้างสัมพันธภาพ
* ไม่ค่อยสนใจผู้คนรอบข้าง
ด้านแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรม
* พูดเป็นคำหรือวลีซ้ำๆ 
* ใช้ภาษาที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ 
* เคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ เช่น โยกตัว กระโดด สะบัดมือ 
* เคลื่อนไหวร่างกายแปลกๆ เป็นแบบแผนเฉพาะตัว
* ทานอาหารซ้ำๆ ใช้ของซ้ำๆ ใช้เส้นทางเดิมๆ
* ถามเรื่องเดิมซ้ำๆ มากเกิน
* กังวลมากเกินไปกับการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
* ยึดติดหรือหมกมุ่นกับวัตถุบางอย่างมากเกินปกติ 
* สนใจในบางเรื่อง แบบหมกมุ่นมากเกินปกติ 
* เย็นชาต่อความเจ็บปวด ความร้อน ความเย็น
* ตอบสนองต่อเสียงหรือผิวสัมผัสบางอย่างแบบรุนแรง
* ดมหรือสัมผัสกับวัตถุบางอย่างมากเกิน
* สนใจในแสงไฟ หรือวัตถุหมุนๆ มากเกิน
   ในเด็กอายุ     18 เดือนขึ้นไป ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ควรมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความช่วยเหลือทันที อาการดังก่าวคือ
1) เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น 
2) ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้
3) ไม่สนใจเข้ากลุ่มหรือเล่นกับเด็กคนอื่น 
4) ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่น
  เมื่อเป็นออทิสติก สเปกตรัม ควรทำอย่างไร
   เริ่มต้นด้วยการปรึกษากับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อตรวจประเมิน วินิจฉัย และวางแผนการดูแลร่วมกัน หาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากความรู้ยังไม่นิ่ง เมื่อมีข้อสงสัยให้นำไปปรึกษากับแพทย์ที่ดูแลเป็นระยะ
   การบำบัดรักษาจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหลายสาขา ดูแลร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักวิชาการศึกษาพิเศษ ฯลฯ

การบำบัดรักษาที่จำเป็น
* การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification)
* กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
* แก้ไขการพูด (Speech Therapy)
* การฝึกทักษะทางสังคม (Social Skill Training)
* การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Special Education)
* การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational Training)
* การใช้ยา (Pharmacotherapy)

การบำบัดรักษาเสริมหรือทางเลือก
* ศิลปะบำบัด (Art Therapy)
* ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
* การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal-assisted Therapy)

การบำบัดรักษาที่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ยืนยัน
* ออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)
* การบำบัดเซลล์ (Cell Therapy)
* การฝังเข็ม (Acupuncture)

การบำบัดรักษาที่ยืนยันแล้วว่าไม่ได้ผล
* วิตามินบี ขนาดสูง (Megavitamin)



อย่ากลัวที่จะรู้ว่าลูกเป็นอะไร แต่กลัวที่ลูกจะเสียโอกาสในการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีมากกว่า
ออทิสติก สเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder)

ออทิสติกไม่ได้สร้างความแตกต่าง
แต่เป็นเพราะว่าเด็กทุกคนแตกต่างกัน
เราจึงควรเรียนรู้และเข้าใจใน
ความแตกต่างกันของเด็กแต่ละคน


   

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.


บรรยากาศในห้องเรียน 

                                      ในวันนี้ที่ห้องเรียนของเรา จะมีการนำเสนอประเภทของเด็กพิเศษประเภทต่างๆ อาจารย์บอกว่าคงไม่สามาถรนำเสนอได้เพราะว่าคอมพิวเตอร์เเละโปรเจ็คเตอร์มีปัญหาอาจารย์เลยให้รอเพื่อที่จะได้ไปเรียนอีกห้องอื่น เเต่ระหว่างรออาจารย์ไปจับสายทำให้ทุกอย่างใช้ได้ตามปกติ
                                      วันนี้ก่อนเเละระหว่างการนำเสนองานนั้นมีความตื่นเต้นพอสมควรไม่รู้เป็นเพราะอะไรทั้งๆที่เราก็เรียนมาจนถึงปี3เเล้ว
                                      เพื่อนๆตั้งใจฟังการนำเสนอของพวกเราเป็นอย่างดี เเละระหว่างการนำเสนอมีทั้งพูดผิด พูดถูกทำให้เกิดเสียงหัวเราะเป็นสีสันไม่น่าเบือ่ในการนำเสนอด้วย

การเรียน การสอ

                             - นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   

                                                                 กลุ่มที่1    Cerebral Palsy C.P 

                                                                 กลุ่มที่2    Children with Learning Disabilities L.D.

                                                                กลุ่มที่3    Children with Attention Deficit and  Hyperactivity Disordersซึ่งพึงนำเสนอได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดมี 5 กลุ่ม

ความรู้ที่ได้รับ        

ขอนำเสนอในรูปแบบบรรยายเเละผังความรู้ด้วยโปรเเกรมMind  Mapper 2008                                                      

  Cerebral Palsy C.P

              โรค Cerebral Palsy (ซีรีบรัล พลัลซี หรือ ซีพี) หรือ โรคสมองพิการ เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียไป ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy มีปัญหาในการเคลื่อนไหว  
 แบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ
1. ระหว่างตั้งครรภ์    
2. ระยะระหว่าคลอด
3. ระยะหลังคลอด  
อาการ
 พ่อแม่พบความผิดปกติก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ยังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ เเบ่งอาการเป็น 3 กลุ่ม
                                                          1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด กล้ามเนื้อจะมีความตึงมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายให้เห็นได้หลายแบบ
                                                       2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
                                                         3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)

พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็ง เป็นปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ


การดูแล/รักษา
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาทางกิจกรรมบำบัด
การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา


Children with Learning Disabilities L.D


Children with Attention Deficit and  Hyperactivity Disorders

สมาธิสั้น (อังกฤษAttention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD)) เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
สาเหตุ
แท้จริงของภาวะสมาธิสั้นนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไรก็ตาม


ลักษณะอาการ ในเด็กเล็กวัย 3 - 5 ขวบไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา แม้ขณะรับประ
ทานอาหาร เช่น นั่งรับประทานอาหารได้เพียงคำเดียวก็ลุกขึ้นวิ่ง มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้ เช่นเวลาเข้าแถว เวลาเล่นของเล่น หรือเกมที่ต้องผลัดกันเล่น เล่นของเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่นาน ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ทั้งที่มีความเข้าใจ และสื่อสารได้ปกติ เล่นเสียงดังมากกว่าเด็กคนอื่นไม่ชอบแบ่งปัน ชอบแย่งของจากคนอื่น โดยไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่ถูกแย่ง ดูเหมือนกับมีพลังงานมากมาย ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยลักษณะอาการ ในเด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไปจะพบอาการได้ชัดกว่าในเด็กเล็ก มีอาการสำคัญ 3 กลุ่มอาการดังนี้1. อาการไม่มีสมาธิ (Inattention)
  • มีความสะเพร่า เลิ่นเล่อ ผิดพลาดสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
  • เหม่อลอย บางครั้งอาจนั่งนิ่งๆ เป็นระยะเวลานานๆ จึงมักทำงานไม่เสร็จ หรือทำงานช้า แต่บางครั้งหากเป็นสิ่งที่สนใจมาก ๆ เช่นวิดีโอเกมหรือรายการโทรทัศน์ ก็อาจตั้งใจดูเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อเนื่องได้
  • ไม่ฟังเวลาผู้ใหญ่พูดด้วยหรือสอน มักจำไม่ได้ ลืมง่ายมากกว่าเด็กทั่วไป
  • มักทำของหาย เช่น ของเล่น การบ้าน ดินสอ หนังสือ ยางลบ ฯลฯ
  • วอกแวกได้ง่ายมากแม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆ น้อยที่ผ่านทางตาหรือหูก็สามารถทำให้เสียสมาธิได้
2. อาการอยู่ไม่สุข (Hyperactivity)
  • ชอบเดินไปมาในห้อง หรือออกนอกห้อง ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลน หยิบโน่น ฉวยนี่ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
  • ซนมากกว่าเด็กทั่วๆไป ดูเหมือนมีพลังงานอยู่ตลอดเวลา ชอบวิ่งเล่นหรือปีนป่ายในสถานที่ที่ไม่สมควร ไม่หวาดกลัวต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  • มักลืมตัวเล่นเสียงดัง
  • ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ มักวุ่นวาย ยุ่งเหยิงตลอดเวลา
3. ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ (Impulsive)
  • มักพูดมาก พูดแทรก
  • รอคอยไม่เป็น มักแสดงออกในลักษณะรีบเร่ง
  • หุนหันพลันแล่นทำสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วโดยไม่ยั้งคิด
เด็กบางคนอาจมีอาการให้เห็นครบ3 กลุ่ม แต่บางคนอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ได้ เช่นไม่ซนมาก ทนรอได้ไม่มีสมาธิ เหม่ลอย วอกแวกง่าย ซึ่งมีผลต่อการเรียนทั้งสิ้น
เด็กบางคนอาจแสดงอาการตั้งแต่วัยก่อนอนุบาลหรือวัยอนุบาล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นพฤติกรรมได้เด่นชัดเมื่ออยู่ชั้นประถมขึ้นไป ทั้งนี้หากมีพฤติกรรมดังกล่าวซึ่งมีโอกาสได้ว่าเด็กจะมีภาวะสมาธิสั้น ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต่อไป


องค์ความรู้ใหม่          
  • การนำเสนองานในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าสิ่งที่จะทำให้งานของเรามีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับการพูดคุยกัน ความร่วมมือ การปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม
  •  เเต่ก่อนเคยคิดว่าเด็กอยู่ไม่นิ่งก็เป็นเด็กสมาธิสั้นเเล้ว เเต่ในความเป็นจริง อาการที่จะบ่งบอกของเด็กสมาธินั้นมีอยู่หลายอย่าง ก็ไม่ควรที่จะตีความเด็กไปในเด็กประเภทนั้น                                         

การนำไปประยุกต์ใช้

  • ทำให้เห็นรูปแบบการนำเสนอในรูปแบบต่างๆที่หลากหลายที่เพื่อนนำเสนอ เราสามารถนำมาบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ
  • สามารถนำไปบูรณาการความรู้ไปสู่วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


              

การเข้าเรียนครั้งที่9

วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลา 11.30น.-14.00น.



           ไม่มีการเรียน การสอนเพราะว่าอยู่ในช่วงวันหยุดปีใหม่