วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน
                             ในวันนี้เพื่อนๆมีความตื่นเต้นเพราะอาจารย์จะได้เเจ้งคะเเนนสอบกลางภาค ซึ่งตัวเองรู้ก่อนหน้านี้เเล้วเลยไม่ได้ตื่เต้นอะไร คะเเนที่ออกมาค่อนข้างที่จะน้อยมากสะท้อนให้เห้นว่าตัวเองไม่มีการอ่านหนังสือเลย การเรียนการสอนในห้องเรียนไม่มีความตั้งใจ มีคำถามอะไรไม่ถามกับอาจารย์ ส่วนเพื่อนที่ได้คะเเนนเยอะก็บ่งบอกว่าเขาตั้งใจเรียนในห้องเรียน ขยันอ่านหนังสือ คะเเนนที่ออกมามีทั้งสมหวังเเละะผิดหวังไปตามๆกัน เเต่ก็ไม่สามารถเเก้ไขอะไรได้อีก นอกเหนือจากต่อไปนี้เราจะต้องเเก้ไขตัวเองเเล้วทำใหม่ให้ดีขึ้น
 การเรียน การสอน 
                             - อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์ในเรื่อง การดูเเลรักษาเเละส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                                             - ในคาบเรียนได้มีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ความรู้ที่ได้รับ
                      - เด็กพิเศษที่จะพบมากส่วนใหญคือ 1.Dow's Syndrome
                                                                                         2.Autistic
                                                                                         3. สมาธิสั้น
                                                                                         4. LD

                                                                              Dow's Syndrome
 การดูเเล
  1. รักษาตามอาการ
  2. เเก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
  3. ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันเเละใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  4. เน้นการดูเเลแบบองค์รวม Holistic approach
 การดูเเลเริ่มจาก
  1. ด้านสุขภาพอนามัย บิดามารดาพาบุตรไปพบเเพทย์ตั้งเเต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
  2. เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
  3. ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
  4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำเเผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ โดยการฝึกชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนเเรก
  1. ท่านอนตะเเคงข้าง ขาไขว้มือเหยียดตรง
  2. การอาบน้ำเเต่ละครั้งต้องมีอุปกรณ์เยอะ เพื่อเป็นการให้เด็กได้สัมผัสอย่างหลากหลาย
การปฏิบัติของบิดา มารดา
  1. ยอมรับความจริง
  2. เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
  3. ให้ความรักเเละความอบอุ่น
  4. การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก เเละเต้านม
  5. การคุมกำเนิด การทำหมัน
  6. การสอนเรื่องเพศศึกษา
  7. ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ
  1. พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เเละภาษา
  2. สามารถปรับตัวเเละช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
  3. สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
  4. ลดปัญญาพฤติกรรม
  5. คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถเเก้ไขปัญหาเเละทำงานได้ดีขึ้น
Autistic
ส่งเสริมความเข้มเเข็งครอบครัว
  1. ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูเเลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก
  1. การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
  2. ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การปรับพฤติกรรมเเละยึดทักษะทางสังคม
  1. เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมเเละลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  2. การให้เเรงเสริม ให้รางวัล เเตะไหล่
การฝึกพูด
  1. โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาเเละการสื่อความหมายล่าช้า
  2. ถ้าเด็กพูดได้เเล้ว โอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
  3. ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
  4. ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความต้องการได้
  5. การสื่อความหมายทดเเทน (AAC)
                                                        การสื่อความหมายทดเเทน (AAC)
( Augmentative and Alternative Communication;AAC)
  1. การรับรู้ผ่านการมอง( Visual strategies) เช่น ป้ายบอก
  2. โปรเเกรมเเลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange Communication System ; PECS) ใช้มากกับเด็ก
  3. เครื่องโอภา(Communication Devices) เป็นคล้ายเครื่องอัดเสียง
  4. โปรเเกรมปราศรัย พิมพ์เเล้วมีเสียง
การส่งเสริมพัฒนาการ
  1. ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
  2. เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมธิ การฟังเเละทำตามคำสั่ง
  3. ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่่อสาร สังคม เเละการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  1. เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร เเละทักษะทางความคิด
  2. เเผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)
  3. โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน (รับเฉพาะเด็กออทิสติก)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  1. ทักษะในชีวิตประจำวัน เเละการฝึกฝนทักษะทางสังคม
  2. ให้เด็กสามารถด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
  1. Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง ซน หุนหันพลันเเล่น ขาดสมาธ
  2. Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันเเล่น พฤติกรรมซ้ำๆพฤติกรรมก้าวร้าวรุนเเรง
  3. ยาในกลุ่ม Anticonuulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
การบำบัดทางเลือก
  1. การสื่อความหมายทดเเทน AAC
  2. ศิลปกรรมบำบัด Art Therapy  
  3. ดนตรีบำบัด Music Therapy  
  4. การฝังเข็ม Acupuncture
  5. การบำบัดด้วยสัตว์ Animal Therapy  
พ่อ แม่ต้องคำนึง
  1. ลูกต้องพัฒนาได้
  2. เรารักลูกของเรรา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
  3. ถ้าเราไม่รัก เเล้วใครจะรัก
  4. หยุดไม่ได้ ในการช่วยเหลือ
  5. ดูเเลจิตใจเเละร่างกายของตนเองให้เข้มเเข็ง
  6. ไม่ควรกล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
  7. ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
องค์ความรู้ใหม่ 
                     
                 เมื่อเด็กมีความบกพร่อง ทุกส่วนต้องเข้ามาช่วยเหลือ ให้คำเเนะนำ เเค่พ่อ แม่ที่ดูเเละคงไม่พอ ทั้งทางครู โรงเรียน สหวิชาชีพต่างๆ เช่น นักโสตบำบัด นักกาพภาพบำบัด นักอัตถบำบัด นักจิตวิทยา เป็นต้น ต้องมีส่วนร่วมด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
                                        เมื่อเราโตขึ้นไปมีความรู้    เราก็สามารถให้ความช่วยเหลือ ให้คำเเนะนำกับพ่อ แม่ที่มีเด็กพิเศษได้   หากมีโอกาส  อาจจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบำบัดด้วยวิธีต่างๆ เราถนัดในเรื่องของสื่ออยู่เเล้ว เราก็สามารถนำมาบุรณาการเข้าด้วยกัน     
                                  
                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น