วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556

เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.
บรรยากาศในห้องเรียน 
                                             วันนี้ไม่รู้ว่าอาจารย์ให้เข้าเรียน 11.30น. เลยเข้าเรียน 12.00น. มาถึงก็เพื่อนเต็มห้องเเล้ว เกร็งๆเล็กน้อยเพราะไม่เคยเข้าห้องเรียนสายมาก่อน ที่นั่งก็ไม่มีต้องนั่งประมาณกลางห้อง ไม่ค่อยชินเท่าไหร เเต่ก้คิดซะว่าเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนในครั้งนี้ คิดว่าครวหน้าคงจะไม่มีเหมือนวันนี้อีกเเล้ว อาจารย์ก็ใจดีที่ไม่เชคชื่อให้เราว่า มาสาย
                             
การเรียนการสอน 
                            - อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์พอย พร้อมกับการอธิบายไปด้วยเเละอาจารยืก็ยกตัวอย่างCase ต่างๆที่อาจารย์เคยเห็นมา มาเล่าให้เราฟัง ทำให้เรามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเเละวันนี้เราจะเรียน ประเภทของเด็กที่มีความต้องการอีก 3 ประเภท
                                  - อาจารย์ให้ดู วีดีโอจากโทรทัศน์ครู ตอนห้องเรียนเเรกของเด็กพิเศษ เเล้วสรุปเป็นผัง
ความคิด
                          
ความรู้ที่ได้รับ
                      การจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมเเละอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้                                                                                                                                                              -                                        - สภาพเเวดล้อม
                                      - ความคิดเห็นของเเต่ละบุคคล
                          ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก
                                           - ไม่สามารถเรียนได้
                                           - รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนเเละครูไม่ได้   
                                           - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม       
                                           - มีความคับข้องใจเเละเก็บกด       
                                           - แสดงอาการทางร่างกาย ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
                                           - หวาดกลัว   
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมถือว่ารุนเเรงมาก ได้เเก่
  1. เด็กสมาธิสั้น ADHD เด็กซุกซนไม่อยู่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอด เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันเเล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กพวกนี้เรียกว่า Attention Deficit Disorders หรือ ADD
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมเเละอารมณ์
  1. อุจจาระ ปัสสาวะรดที่นอน
  2. ติดขวดนม ตุ๊กตา ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  3. หงอยเหงา เศร้าซึม หนีสังคม
  4. เรียกร้องความสนใจ
  5. อารมณ์หวั่นไหวต่อสิ่งเร้า
  6. ขี้อิจแา ริษยา ก้าวร้าว
  7. ฝันกลางวัน
  8. เพ้อเจ้อ
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- เรียกย่อๆว่า LD ( Learning Disability) 
- มีปัญหาทางการเรียนรู้เแพาะอย่าง
- มีปัญหาทางการพูด การเขียน
- ไม่รวมกับเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด้กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะของเด็กLDที่พอสังเกตได้
  1. มีปัญหาทางคณิตศาสตร์
  2. ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
  3. เล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
  4. มีปัญหาทางด้านการอ่าน การเขียน
  5. ซุ่มซ่าม
  6. รับลูกบอลไม่ได้
  7. ติดกระดุมไม่ได้
  8. เอาเเต่ใจ
เด็กออทิสติก
- เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนเเรงในการสื่่อความหมาย พฤติกรรมทางสังคมเเละความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
- เด็กเเต่ละคนมีเอกลักษณืเป้นของตนเอง
- ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
- ทักษะทางภาษาต่ำ
- ทักษะทางสังคมต่ำ
- ทักษะการเคลื่อนไหวต่ำ
- ทักษะทางรูปทรง ขนาดต่ำ
ลักษณะของเด็กออทิสติก
  1. อยู่ในโลกของตนเอง
  2. ไม่เข้าไปหาใคร ไม่ต้องการให้ใครมาปลอบใจ
  3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  4. ไม่ยอมพูด
  5. เคลื่อนไหวเเบบช้าๆ
  6. ยึดติดวัตถุ
  7. ต่อต้านหรือเเสดงกิริยาอารมณ์รุนเเรงไร้เหตุผล
  8. มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก
  9. ใช้วิธีการสัมผัสเเละเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีการที่เเตกต่างไปจากคนอื่น
เด็กพิการซ้อน
- บกพร่อง 2 อย่างขึ้นไป เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องการเรียนรู้อย่างมาก
- เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
- เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กหูหนวกตาบอด

การนำไปประยุกต์ใช้

                 การเรียนการสอนเเต่ละครังทำให้เรามีความรู้เพอิ่มเติมมากยิ่่งขึ้้น  เเละการดูวีดีโอในครั้งนี้ทำให้เราเห็นตัวอย่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆ เเละเห็นการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพือเป็นการบำบัด ฟื้นฟู ให้กับเด็ก เมื่อเราเป็นครูในอนาคตหากเรามีโอกาสไปอยู่กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เราสามารถนำกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น ไปใช้ได้เพื่อเป็นเเนวทาง


VDO เรื่อง ห้องเรียนเเรกของเด็กพิเศษ



            ขอบคุณที่มาจาก โทรทัศน์ครู เข้าถึงลิ้งค์ได้โดย http://www.youtube.com/watch?v=KA5oVurr4-A

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 3


วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน                                  
                                                        วันนี้ในห้องเราก้ยังต้องเรียนที่เกี่ยวกับเนื้อหาไปก่อน เพราะเรามีเนื้อหาที่ต้องเรียนค่อนข้างที่จะเยอะ เราต้องพยายามตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายให้มาก ทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จดมา อย่สนใจเพื่อที่เขาเสีงดัง เหตุที่เขาเสียงดัง เขาอาจจะเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปเเล้วก็ได้เลยเลือกที่จะไม่สนใจทั้งการจด เเละการฟังอาจารย์
                                                      หากจดอย่างเดี่ยวเราก็พวงเเต่การจด เเต่ถ้ามาฟังที่อาจารย์ยกตัวอย่าง Caseต่างๆ เเล้วจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น
                                       
การเรียนการสอน 
                                          วันนี้เราก็เรียนประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเช่นเคยเพราะว่ายังไม่ครบเลย เรียนโดยโปรเเกรมนำเสนอเพาเวอร์พอย พร้อมการอธิบายของอาจารย์ การสนทนานักศึกษา การตอบคำถาม การโต้ตอบกับอาจารย์
                            
ความรู้ที่ได้รับ           
 เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย คือ 
  • อวัยวะไม่สมส่วน 
  • ส่วนหนึ่งหายไป
  • ระบบประสาท
  • การเคลื่อนไหว                                         

 จำเเนกได้เป็น 6 ประเภท
1.  Cerebral Palsy CP เป็นอัมพาตเนื่องจากสมองพิการหรือเป็นผลมาจากที่สมองกำลังพัฒนาอยู่ถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่าง หรือหลัง
อาการ  - อัมพาต เกร็งของเเขน ขาหรือครึ่งซีก spastic
             - ลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ athetoid
             - อัมพาตตึงเเข็ง rigid
             - อัมพาตเเบบผสม mixed
2.   กล้ามเนื้ออ่อนเเรง Muscular pistrophy 
เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นเสื่อม
อาการ - เดิน นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
          - มีความพิการซ้อนระยะหลัง คือ ความจำเเย่ลง สติปัญญาเสื่อม
3.  โรคทางกระดูกกล้ามเนื้อ 

เป็นมาจากกำเนิด เช่นเท้ากระปุก
อาการ - ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ
            - กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
4. โปลิโอ Poliomyelitis
อาการ - กล้ามเนื้อลีบ เล็กไมีมีผลกระทบต่อสติปัญญา
            - เดินไม่ได้ อาจเดินได้หากมีอุปกรณ์ช่วยเดิน
5.  เเขนขาด้วนเเต่กำเนิด Limb Deficiency
6. โรคกระดูกอ่อน Osteogenesis Imperfeta


 เด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ คือ 
1. โรคลมชัก Epilwpsy เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
     - ลมบ้าหมู Grandmal เกิดอาการซักจะทำให้หมดสติ เเละหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือเเขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
     - การชักในช่วงเวลาสั้นๆ Petitmal เป็นอาการชักระยะสั้นๆ5-10 นาที    เด็กจะนั่งเขย่าตัวหรือตัวสั่นเล็กน้อย
      - การชักแบบรุนเเรง เกิดอาการชักเด็กจะเสียงดัง หมดความรู้สึก ล้มลง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นก็จะหายเเละนอยหลับไปชั่วครู่
       - อาการชักแบบ Partial Compex เกิดอาการเป็นระยะ กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว เดินไปมา บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และต้องการนอนพัก
      - อาการชักไม่รู้ตัว เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้ตัว เช่น ร้องเพลงเสียงดัง ดึงเสือ้ผ้า เดินเหม่อลอย เเต่ไม่มีอาการชัก
      - โรคต่างๆที่เกิดขึ้น ระบบทางเดินหายใจ  เบาหวาน  อักเสบรูมาตอย  ศีรษะโต  หัวใจ  มะเร็ง เลือดไหลไม่หยุด 
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายเเละสุขภาพ


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดเเละภาษา
         เด็กกลุ่มนี้พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ออกเสียงไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน การใช้อวัยวะในการพูดไม่เป็นไปตามตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
1.2 เพิ่มหน่วยเสียงในคำโดยไม่จำเป็น
1.3 เอาเสียงหนึ่งแทนเสียงหนึ่่ง
2. ผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น พูดรัว พูดติดอ่าง
3. ผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง ความดัน คุณภาพ
4. ความผิดปกติทางการพูดเเละภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ Aphasia
4.1 Motor Aphasia ------------> เข้าใจคำถามหรือคำสั่งเเต่พูดไม่ได้ออกเสียงลำบาก พูดช้า พูดไม่ถูกไวยากรณ์
4.2 Wernioke's Aphasia ------------> ไม่เข้าใจคำถามได้ยินเเต่ไม่เข้าใจ ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆหรือใช้คำอื่นที่ไม่มีความหมายมาแทน
4.3 Conduction Aphasia ------------> เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดีแต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
4.4 Nominal Aphasia ------------> เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามก็พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ
4.5 Global Aphasia ------------> ไม่เข้าใจทุกภาษา พูดไม่ได้เลย
4.6 Sensory Agraphia ------------> เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
4.7 Motor Agraphia ------------> เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ เขียนตามคำบอกไม่ได้
4.8 Cortical Alexia ------------> อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
4.9 Motor Alexia  ------------> เด็กที่เห็นตัวเขียน ตัวพิมพ์ เข้าใจความหมายเเต่อ่านไม่ได้
4.10 Gerstmann's Syndrome  ------------> ไม่รู้ซื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้าย ขวา คำนวณไม่ได้ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก(หนักมาก)
4.11 Visual Agnosia   ------------> เด็กที่มองเห็นวัตถุเเต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วไม่ได้
4.12 Auditory Agnosia   ------------> เด็กที่ไม่มีปัญหาทางการได้ยินเเต่แปลความหมายของคำเเละประโยชน์ไม่ได้ยิน

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพูดเเละภาษา

การนำไปประยุกต์ใช้  
- เมื่อเรามีความรู้ในเรื่องประเภทของเด็กพิเศษเเต่ละประเภท ทำให้เราสามารถเเยก แยะได้ว่าถ้าเด็กมีลักษณะเเบบนี้จะเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทไหน 
- ทำให้ทราบว่าเมื่อเด็กยังมีอายุน้อยอยู่ หากเขามีลักษณะที่ผิดปกติไป เราสามารถที่จะทำนายได้ว่าอาจจะเป็นเด้กที่ทีความต้องการพิเศษได้          



วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 2



วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.


บรรยากาศในห้องเรียน 

                                        วันนี้เป็นการเข้าเรียนครั้งที่2 แล้วอาจารย์น่ารักมากเพื่อนต่างก็คุยกันเสียงดังโดยที่ไม่เกรงใจอาจารย์เลย อาจารย์ก็ไม่อยากจะพูดอะไรมากเพราะว่าโตๆกันเเล้ว เเต่อาจารย์ก็ยังดำเนินการสอนต่อไป เเละวันนี้อาจารย์ออกไปสาธิตการวัดลานสายตา

การเรียนการสอน 
                             1. อาจารย์เเละนักศึกได้ได้ตกลงเรือ่งการให้คะเเนนใหม่
                             2. ดูPOWER POINT เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
                             3. อาจารย์อธิบายพร้อมทั้งให้นักศึกษาเเสดงความคิดเห็น
ความรู้ที่ได้รับ
                      
       การนำไปประยุกต์ใช้

              1. นำความรู้ที่ได้รับมาเป็นพื้นฐานทางความรู้ของตนเอง เพื่อที่จะสามารถต่อยอด บูรณาการกับรายวิชาอื่นได้ง่าย
                              2. สามารถเเยกประเภทลักษณะของเด็กพิเศษเเต่ละประเภทได้ หากมีผู้ปกครองมาสอบถามข้อมูลกับเรา หรือหากเราต้องการที่จะนำไปบอก เเนะนำกับคนอื่นได้ เราก็จะอธิบายได้อย่างเข้าใจ



                                  

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 1

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

บรรยากาศในห้องเรียน 
                                        วันนี้เป็นการเข้าเรียนเป็นครั้งเเรกกับวิชาใหม่ กับอาจารย์ที่น่ารักมากๆ
การเรียนการสอน 
                             1. วันนี้อาจารย์ปฐมนิเทศ เเนะเเนวการเรียน การสอน
                             2. อาจารย์อธิบายถึงงานว่าหลักๆเเล้วมีอยู่ 3 งาน
                                                        - นำเสนอประเภทของเด็กพิเศษ(งานกลุ่ม)
                                                        - นำเสนองานวิจัย(งานเดี่ยว)
                                                        - บล็อก
                            3. อาจารย์กับนักศึกษาได้มีการพูดถึงคะเเนนตามที่อาจารย์ได้เขียนไว้ในCourse Syllabus ว่ามีความเหมาะสมหรือต้องการอย่างไร สรุปคือ
                                                        - จิตพิสัย 10 คะเเนนเปลี่ยนเป็น 20 คะเเนน
                                                        - งานเดี่ยว 10 คะเเนนเหมือนเดิม
                                                        - งานกลุ่ม 20 คะเเนนเหมือนเดิม
                                                        - การบันทึกอนุทิน 20 คะเเนนเลี่ยนเป็น 30 คะเเนน
                                                        - สอบระหว่างภาค 20 คะเเนน ไม่มี
                                                        - คะเเนนสอบปลายภาค 20 คะเเนนเหมือนเดิม
                            4. อาจารย์ให้ทำ My Map ที่เกี่ยวกับความรู้ที่มีของคำว่า "เด็กพิเศษ" อาจารย์เเจกสีเพื่อที่จะตกเเต่งให้สวยงาม
                            5. อาจารย์ขอตัวเเทน 2 คน ออกมานำเสนอ คนที่ 1 ไม่ได้ดูจากอินเตอร์เน็ท 
                                                                                                  คนที่ 2 ดูจากอินเตอร์เน็ท
                            6. อาจารย์พูดถึงความหมายของเด็กพิเศษ
ความรู้ที่ได้รับ
                       เด็กพิเศษคือ เด็กที่พัฒนาการ การการเรียนรู้ที่ไม่เป็นไปตามวัย  เป็นเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละค
                        
องค์ความรู้ใหม่
                          1. เราต้องมีการดูเเลเด็กพิเศษให้มากว่าคนอื่น
                          2. เราต้องมีการเข้าใจ เห็นอก เห็นใจเเละมีการช่วยเหลือ
                          3. เด็กพิเศษไม่ใช่เเค่เด็กที่บกพร่อง เเต่เด็กที่ไอคิวมากๆก็เรียกว่าเด็กพิเศษได้
การนำไปประยุกต์ใช้
                                   1.  เราต้องไปสร้างทัศคติใหม่ที่มีต่อเด็กพิเศษใหม่ว่าเขาเป็นคนที่น่าสงสาร ไม่ใช่น่ารังเกลียด
                                    2. การสังเกตเด็กที่อยู่รอบตัวเราว่าเขาจะเป็นเด็กพิเศษประเภทไหนหรือไม่