เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.
บรรยากาศในห้องเรียน
ในวันนี้เพื่อนๆมีความตื่นเต้นเพราะอาจารย์จะได้เเจ้งคะเเนนสอบกลางภาค ซึ่งตัวเองรู้ก่อนหน้านี้เเล้วเลยไม่ได้ตื่เต้นอะไร คะเเนที่ออกมาค่อนข้างที่จะน้อยมากสะท้อนให้เห้นว่าตัวเองไม่มีการอ่านหนังสือเลย การเรียนการสอนในห้องเรียนไม่มีความตั้งใจ มีคำถามอะไรไม่ถามกับอาจารย์ ส่วนเพื่อนที่ได้คะเเนนเยอะก็บ่งบอกว่าเขาตั้งใจเรียนในห้องเรียน ขยันอ่านหนังสือ คะเเนนที่ออกมามีทั้งสมหวังเเละะผิดหวังไปตามๆกัน เเต่ก็ไม่สามารถเเก้ไขอะไรได้อีก นอกเหนือจากต่อไปนี้เราจะต้องเเก้ไขตัวเองเเล้วทำใหม่ให้ดีขึ้น
การเรียน การสอน
- อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์ในเรื่อง การดูเเลรักษาเเละส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- ในคาบเรียนได้มีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ความรู้ที่ได้รับ
- เด็กพิเศษที่จะพบมากส่วนใหญคือ 1.Dow's Syndrome
2.Autistic
3. สมาธิสั้น
4. LD
Dow's Syndrome
การดูเเล
- รักษาตามอาการ
- เเก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันเเละใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูเเลแบบองค์รวม Holistic approach
การดูเเลเริ่มจาก
- ด้านสุขภาพอนามัย บิดามารดาพาบุตรไปพบเเพทย์ตั้งเเต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
- ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำเเผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ โดยการฝึกชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนเเรก
- ท่านอนตะเเคงข้าง ขาไขว้มือเหยียดตรง
- การอาบน้ำเเต่ละครั้งต้องมีอุปกรณ์เยอะ เพื่อเป็นการให้เด็กได้สัมผัสอย่างหลากหลาย
การปฏิบัติของบิดา มารดา
- ยอมรับความจริง
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักเเละความอบอุ่น
- การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก เเละเต้านม
- การคุมกำเนิด การทำหมัน
- การสอนเรื่องเพศศึกษา
- ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ
- พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เเละภาษา
- สามารถปรับตัวเเละช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
- ลดปัญญาพฤติกรรม
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถเเก้ไขปัญหาเเละทำงานได้ดีขึ้น
Autistic
ส่งเสริมความเข้มเเข็งครอบครัว
- ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูเเลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก
- การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
- ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การปรับพฤติกรรมเเละยึดทักษะทางสังคม
- เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมเเละลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- การให้เเรงเสริม ให้รางวัล เเตะไหล่
การฝึกพูด
- โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาเเละการสื่อความหมายล่าช้า
- ถ้าเด็กพูดได้เเล้ว โอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
- ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
- ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความต้องการได้
- การสื่อความหมายทดเเทน (AAC)
การสื่อความหมายทดเเทน (AAC)
( Augmentative and Alternative Communication;AAC)
- การรับรู้ผ่านการมอง( Visual strategies) เช่น ป้ายบอก
- โปรเเกรมเเลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange Communication System ; PECS) ใช้มากกับเด็ก
- เครื่องโอภา(Communication Devices) เป็นคล้ายเครื่องอัดเสียง
- โปรเเกรมปราศรัย พิมพ์เเล้วมีเสียง
การส่งเสริมพัฒนาการ
- ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
- เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมธิ การฟังเเละทำตามคำสั่ง
- ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่่อสาร สังคม เเละการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร เเละทักษะทางความคิด
- เเผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)
- โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน (รับเฉพาะเด็กออทิสติก)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- ทักษะในชีวิตประจำวัน เเละการฝึกฝนทักษะทางสังคม
- ให้เด็กสามารถด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
- Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง ซน หุนหันพลันเเล่น ขาดสมาธ
- Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันเเล่น พฤติกรรมซ้ำๆพฤติกรรมก้าวร้าวรุนเเรง
- ยาในกลุ่ม Anticonuulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
การบำบัดทางเลือก
- การสื่อความหมายทดเเทน AAC
- ศิลปกรรมบำบัด Art Therapy
- ดนตรีบำบัด Music Therapy
- การฝังเข็ม Acupuncture
- การบำบัดด้วยสัตว์ Animal Therapy
พ่อ แม่ต้องคำนึง
- ลูกต้องพัฒนาได้
- เรารักลูกของเรรา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
- ถ้าเราไม่รัก เเล้วใครจะรัก
- หยุดไม่ได้ ในการช่วยเหลือ
- ดูเเลจิตใจเเละร่างกายของตนเองให้เข้มเเข็ง
- ไม่ควรกล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
- ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
องค์ความรู้ใหม่
เมื่อเด็กมีความบกพร่อง ทุกส่วนต้องเข้ามาช่วยเหลือ ให้คำเเนะนำ เเค่พ่อ แม่ที่ดูเเละคงไม่พอ ทั้งทางครู โรงเรียน สหวิชาชีพต่างๆ เช่น นักโสตบำบัด นักกาพภาพบำบัด นักอัตถบำบัด นักจิตวิทยา เป็นต้น ต้องมีส่วนร่วมด้วย
เมื่อเราโตขึ้นไปมีความรู้ เราก็สามารถให้ความช่วยเหลือ ให้คำเเนะนำกับพ่อ แม่ที่มีเด็กพิเศษได้ หากมีโอกาส อาจจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบำบัดด้วยวิธีต่างๆ เราถนัดในเรื่องของสื่ออยู่เเล้ว เราก็สามารถนำมาบุรณาการเข้าด้วยกัน